เมนู

ด้วยพาหนะเถิด. บุรุษนั้นเกิดเป็นพระราชา ทรงพระนามว่าจัณฑปัชโชตนี้1
ในบัดนี้, ความสมบูรณ์ด้วยพาหนะนี้ มีด้วยความปรารถนานั้น.
สามบทว่า นเขน เภสชฺชํ โอลุมฺเปตฺวา คือ แทรกยาลงด้วยเล็บ,
อธิบายว่า ใส่.
สองบทว่า สปฺปึ ปาเยตฺวา คือ ให้ดื่มเนยใสด้วย บอกวิธีจัด
อาหารแก่นางบำเรอทั้งหลายด้วย.
บทว่า นิจฺฉาเรสิ ได้แก่ ถ่ายแล้ว.
ผ้าอวมงคลซึ่งเขาทิ้งเสียที่ป่าช้าในอุตตรกุรุทวีป ชื่อผ้าสิเวยยกะ. ได้ยิน
ว่า มนุษย์ทั้งหลายในทวีปนั้น เอาผ้านั้นนั่นแลห่อหุ้มคนตายแล้วทั้งเสีย. นก
หัสดีลิงค์ทั้งหลาย กำหนดห่อคนทายนั้นว่า ชิ้นเนื้อ แล้วเฉี่ยวนำไปวางที่ยอด
เขาหิมพานต์ เปลื้องผ้าออกแล้วกิน. ครั้งนั้นพวกพรานไพรพบผ้าเข้าแล้วนำ
มาถวายพระราชา. ผ้าสิเวยยกะเป็นของที่พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงได้แล้วด้วย
ประการอย่างนี้.
อาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า หญิงผู้ฉลาดในแคว้นสีวี ฟันด้ายด้วยขน
สัตว์ 3 เส้น, ผ้าสิเวยยกะนั้น เป็นผ้าที่ทอด้วยด้ายนั้น ดังนี้

ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้าปาวารเป็นต้น


บทว่า สิเนเหถ มีความว่า ก็พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าเศร้า
หมองหรือไม่เศร้าหมอง. เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมแทรกทิพยโอชาใน
อาหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกเมื่อ, ก็แต่ว่า น้ำยางย่อมยังโทษทั้งหลายให้
ชุ่มแช่อยู่ในพระสรีระทั้งสิ้น. ย่อมกระทำเส้นเอ็นทั้งหลายให้เพลีย; ด้วยเหตุ
นั้น หมอชีวกนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
1. ดุเรื่องในสามาวตีวตฺถุ อปฺปมาทวคฺค ธมฺมปทฏฺฐกถา.

สองบทว่า ตีณิ อุปฺปลหตฺถานิ มีความว่า อุบลกำหนึ่ง เพื่อ
บำบัดโทษอย่างหยาบ กำหนึ่งเพื่อบำบัดโทษอย่างปานกลาง กำหนึ่งเพื่อบำบัด
โทษอย่างละเอียด.
หลายบทว่า น จิรสฺเสว ปกตตฺโต อโหสิ มีความว่า ก็เมือพระ
กายเป็นปกติแล้วอย่างนั้น ชาวเมืองทั้งหลายได้ตระเตรียมทานไว้. หมอชีวกมา
แล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
วันนี้ พวกชาวเมืองประสงค์จะถวายทานแด่พระองค์ ขอพระองค์เสด็จเข้าสู่
ละแวกบ้าน เพื่อบิณฑบาตเถิด. พระมหาโมคคัลลานเถระคิดว่า วันนี้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าสมควรได้ปฐมบิณฑบาตจากที่ไหนหนอและ ? ลำดับนั้น ท่านติด
ว่า โสณเศรษฐีบุตร จำเดิมแต่ทำนามะ ย่อมบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีหอม
ซึ่งทำนุบำรุงด้วยรดน้ำนมสด ไม่สาธารณ์ด้วยชนเหล่าอื่น เราจักนำบิณฑบาต
จากโสณเศรษฐีบุตรนั้น มาเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านไปด้วยฤทธิ์ แสดงตน
บนพื้นปราสาทของโสณเศรษฐีบุตรนั้น.
เขาได้รับบาตรของพระเถระแล้ว ถวายบิณฑบาตอย่างประณีต. และ
ได้เห็นอาการจะไปของพระเถระ จึงกล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ. พระเถระ
บอกเนื้อความนั้น. เขากล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ, กระผมจักถวายส่วน
อื่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้พระเถระฉันแล้ว ได้อบบาตรด้วยของหอมแล้ว
ถวายบิณฑบาต. พระเถระได้นำบาตรนั้นมาถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถึงพระ
เจ้าพิมพิสารก็ทรงดำริว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักเสวยอะไร ? จึงเสด็จมาวิหาร
พอเสด็จเข้าไป ก็ทรงได้กลิ่นบิณฑบาต ได้เป็นผู้มีพรูประโยคสงค์จะเสวย. ก็
เทวดาทั้งหลาย แทรกโอชาในบิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ยังอยู่ในภา.-
ชนะ 2 ครั้งเท่านั้น คือ บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวาย 1 ที่นายจุนกัมมารบุตร
ไว้ถวาย ในคราวปรินิพพาน 1, ในบิณฑบาตอื่น ๆ ได้แทรกที่ละคำ.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบความอยากของพระราชา
จึงรับสั่งให้ถวายบิณฑบาตหน่อยหนึ่ง ซึ่งเทวดายังมิได้แทรกโอชาลง แก่
พระราชา. ท้าวเธอเสวยแล้วทูลถามว่า โภชนะนำมาจากอุตตกุรุทวีปหรือ
พระเจ้าข้า ร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ไม่ได้นำมาจากอุตตร-
กุรุทวีป, โดยที่แท้นี่เป็นโภชนะของคฤหบดีบุตร ชาวแคว้นของพระองค์
นั่นเอง ดังนี้แล้ว ทรงบอกสมบัติของโสณะ. พระราชาทรงฟังเนื้อความ
นั้นแล้ว มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรโสณะ ได้ทรงกระทำความมาของ
โสณะพร้อมด้วยกุลบุตรแปดหมื่นคน ตามนัยที่กล่าแล้วในจัมมขันธกะ.
กุลบุตรเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นพระ-
โสดาบัน. ฝ่ายโสณะบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้ารับ
สั่งให้ถวายบิณฑบาตแก่พระราชาก็เพื่อประโยชน์นี้แล.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วอย่างนั้น, ลำดับนั้น
แล หมอชีวกโกมารภัจจ์ ถือคู่ผ้าสิเวยยกะนั้นแล้ว ฯลฯ ได้กราบทูลเนื้อความ
นั้น.
วินิจฉัยในคำว่า อติกฺกนฺตวรา นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน
มหาขันธกะนั้นและ.
ข้อว่า ภควา ภนฺเต ปํสุกูลิโก ภิกฺขุสงฺโฆ จ มีความว่า จริง
อยู่ ในระหว่างนี้ คือ ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้า จน
ถึงเรื่องนี้เกิดขึ้น เป็นเวลา 20 ปี, ภิกษุใด ๆ ไม่ยินดีคฤหบดีจีวร, ภิกษุทั้ง
ปวงได้เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเท่านั้น: ด้วยเหตุนั้น หมอชีวกนี้ จึงกราบทูล
อย่างนั้น.

บทว่า คหปติจีวรํ ได้แก่ จีวรอันคหบดีทั้งหลายถวาย.
สองบทว่า ธมฺมิยา กถาย คือ ถ้อยคำอันประกอบพร้อมด้วย
อานิสงส์แห่งการถวายผ้า
บทว่า อิตริตเรนนาปิ คือ มีค่าน้อยก็ตาม มีค่ามากก็ตาม, ความว่า
อย่างใดอย่างหนึ่ง. ผ้าห่มที่ทำด้วยฝ้ายชนิดที่มีขน ชื่อผ้าปาวาร.
ในคำว่า อนุชานมิ ภิกฺขเว โกชวํ นี้ มีความว่า ผ้าโกเชาว์
คือ ผ้าลาด ตามปกติเท่านี้ จึงควร, ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ ไม่ควร. ผ้าโกเชาว์
นั้น ทำด้วยขนสัตว์คล้ายผ้าปาวาร.

ว่าด้วยทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด


พระเจ้ากาสีนั้น คือพระราชาแห่งชนชาวกาสี, ท้าวเธอเป็นน้องร่วม
พระบิดาเดียวกับพระเจ้าปเสนทิ.
วินิจฉัยในบทว่า อฑฺฒกาสิยํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
หนึ่งพันเรียกว่ากาสีหนึ่ง ผ้ากัมพลมีราคาพันหนึ่ง ชื่อมีค่ากาสีหนึ่ง,
แต่ผ้ากัมพลผืนนี้ มีราคา 50, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีค่ากึ่งกาสี,
ด้วยเหตุนี้แล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า ควรแก่ราคากึ่งกาสี.
บทว่า อุจฺจาวจานิ คือ ดีและไม่ดี. ผ้าที่ทำเจือกันด้วยด้ายห้าชนิด
มีด้ายเปลือกไม้เป็นต้น ชื่อผ้าภังคะ บางอาจารย์กล่าวว่า ผ้าที่ทำด้วยปอเท่านั้น
ดังนี้บ้าง.
ข้อว่า เอกํเยว ภควตา จีวรํ อนุญฺญาตํ น เทฺว มีความว่า
ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น กำหนดเนื้อความแห่งบทอันหนึ่งว่า ด้วยจีวรตามมี
ตามได้ อย่างนี้ว่า ด้วยจีวรเป็นของคหบดีหรือด้วยผ้าบังสุกุล.